ผู้สนับสนุน

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ครบรอบ 1 ปี พฤษภาทมิฬ ราชประสงค์

ครบรอบ 1 ปี พฤษภาทมิฬ ราชประสงค์ ดูไปร้องไห้ไป


วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1 ปี พฤษภา 53 กับร่องรอยที่ยังหลงเหลือ

เกษียร เตชะพีระ เคยเขียนบทความเรื่อง “คนไม่เห็นผี” เอาไว้เมื่อราวสองเดือนหลังเหตุการณ์พฤษภา 53 ปีที่แล้ว เป็นบทความอันว่าด้วยการที่คนกรุงเทพฯ ออกมาทำความสะอาด ลบร่องรอยที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุมและสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ตั้งแต่รอยคราบเลือด ไปจนถึงรอยขีดเขียน ข้อความ สัญลักษณ์ สติ๊กเกอร์ ที่ปรากฎอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สี่แยกคอกวัว ราชประสงค์ สยามแสควร์ ฯลฯ อันบ่งบอกได้ถึงการชุมนุม ได้ถูกทำความสะอาดไปจนเรียบร้อยเกลี้ยงเกลา จนแทบไม่เหลือร่องรอยริ้วรอยว่าเคยเกิดเหตุผิดปกติอะไรขึ้น ณ สถานที่เหล่านั้นเมื่อไม่นานมานี้เอง
การทำความสะอาดครั้งใหญ่ดัง กล่าวสะท้อนบอกว่า เมืองอย่างกรุงเทพฯ “ไม่อยากจำอะไร” หรือ “อยากให้อะไรจบลง” ทว่าการไม่อยากจำอะไรที่ว่า เป็นไปในลักษณะของ “การใช้อำนาจในการลืม” (the power to forget) ลบล้างตัดตอนความเป็นจริงที่เคยเกิดขึ้นอย่างหักหาญรุนแรง แม้ว่ามีคนตายมากมายจากเหตุการณ์พฤษภา 53 แต่คนกรุงก็ทำเป็น “ไม่เห็นผี” เสียนี่
ธรรมดายิ่งเวลาผ่านไป ร่องรอยอันโดดเด่นเหล่านั้นก็ย่อมจะถูกขจัดขัดถูลบออกไปเรื่อย ๆ จนบัดนี้ เวียนมาจะครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์ ดูเผิน ๆ เหมือนว่าจะไม่มีร่องร่อยอะไรหลงเหลืออยู่ แต่ถ้าเราไม่ละเลยจนเกินไป เราก็จะพบว่ามียังร่องรอยบางอย่างหลงเหลืออยู่จริง ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งสถานที่ที่เป็นจุดเกิดเหตุ และที่อื่น ๆ มากมายทั่วกรุงเทพฯแห่งนี้
ซึ่งมันน่าจะพอบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง...
กฟน.คลองเตย
กฟน.คลองเตย
หน้ากฟน.คลองเตย
กฟน. คลองเตย (29 มี.ค.54)
เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด (8 พ.ค.54)
ข้างห้างเซน
ข้างห้างเซน
ข้างห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ (29 มี.ค.54)
คอกวัว
คอกวัว
คอกวัว
คอกวัว
บริเวณแยกคอกวัว (31 มี.ค.54)
ตึกเก่าตรงข้ามปปส.
ตึกเก่าตรงข้าม ปปส. (28 เม.ย.54)
ถ.ดินสอฝั่งสตรีวิทย์
ถ.ดินสอฝั่งสตรีวิทย์
ถ.ดินสอฝั่งสตรีวิทย์
ถนนดินสอ ฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา (17 พ.ค.54)
ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร
ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร
ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร
ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร
ถนนตะนาว ฝั่งข้าวสาร
สะพานผ่านฟ้าลิลาศ
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ (20 เม.ย.54)
สะพานลอยหน้ารัฐศาสตร์จุฬาฯ
สะพานลอย ตรงประตูฝั่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (24 เม.ย.54)
บ่อนไก่
ตู้โทรศัพท์ย่านบ่อนไก่ ถ.พระรามสี่ (29 เม.ย.54)
บันไดหน้าหอศิลป์กทม
บันไดหน้าหอศิลป์ กทม (27 เม.ย.54)
ปากซอยงามดูพลี
ปากซอยงามดูพลี (24 เม.ย.54)
ราชประสงค์
ราชประสงค์
ราชประสงค์
แยกราชประสงค์ (29 มี.ค.54)
ราชประสงค์ หน้า CTW
ราชประสงค์ หน้า CTW
หน้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ (29 มี.ค.54)
ราชวิถีซอย 3
ราชวิถีซอย 3 (29 เม.ย.54)
หน้าทางเข้า MRT สีลม
ทางเข้า MRT สีลม (22 เม.ย.54)
หน้าโรงแรงสวิศโฮเตล ใกล้ MRT ห้วยขวาง
หน้าโรงแรมสวิสโซเทล ใกล้ MRT ห้วยขวาง (2 พ.ค.54)
ไทยไม่รักไทย เพราะมุ่งขจัดแต่ ไทยรักไทย
รถหน้าร้านส่งน้ำแข็ง ท่าเรือปากเกร็ด (14 พ.ค.54)

ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รายงานชิ้นนี้จัดทำโดยดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ กลุ่มมรสุมชายขอบ "อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงเฉพาะกรณี คณะที่ 4" เป็นรายงานของคณะกรรมการค้นหาความจริงด้วยงบประมาณจากภาษีฉบับแรกที่เผย แพร่ออกมา ที่มีความหนาถึง 590 หน้า พร้อมลงรายละเอียดและลำดับเหตุการณ์ของความรุนแรงทางการเมืองระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม 2553 เป็นเอกสารที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

ไทยอีนิวส์ขอนำเสนอบางบท บางตอนจากรายงานไว้ในที่นี้ ส่วนในรายละเอียดเนื้อหาขอเชิญท่านทั้งหลายอ่านได้จากรายงานชิ้นนี้


เอกสาร ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โดย ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ กลุ่มมรสุมชายขอบ
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554







ข้อสังเกตเรื่องกายภาพของความขัดแย้งและการยกระดับความรุนแรงในเหตุการณ์พฤษภาคม 25531
ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

ภูมิหลังของความขัดแย้ง


ความ รุนแรงในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ แต่มีระดับการใช้ความรุนแรงโดยฝ่ายรัฐในเขตกรุงเทพมหานครในระดับสูงสุด ตั้งแต่หลังเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 25353 หากนับจากจานวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เหตุการณ์นี้นับเป็นระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมือง สมัยใหม่ของไทย และเป็นการใช้กาลังทหารต่อพลเรือนในระดับปฏิบัติการรบดังปรากฏให้เห็นว่า รัฐบาลได้จัดกาลังรักษาความสงบถึง 47,202 นาย4 ซึ่งในการปะทะเมื่อ 10 เมษายนยังสะท้อนให้เห็นการตัดสินใจของรัฐบาลผ่าน ศอ.รส. และ ศอฉ. เลือกใช้กาลังทหารเข้าจัดการชุมนุมมากกว่าจะเป็นการใช้กาลังตำรวจปราบจราจล ที่ผ่านการฝึกฝนมาโดยตรง ยังผลให้เกิดความสูญเสียถึง 25 คน (พลเรือน 20 คน ทหาร 5 นาย) บาดเจ็บกว่า 863 (พลเรือน 607 คน ทหาร 237 ตารวจ 19 คน)

ความ ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลนายอภิสิทธิก์ ับกลุ่ม นปช. มีความต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งสามารถย้อนกลับไปตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยยังเป็นคู่ขัดแย้งหลักกับกลุ่มเสื้อแดงซึ่งใช้ชื่อแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ในต่างจังหวัดมีการปะทะระหว่างกลุ่มคนทั้งสองจนบาดเจ็บล้มตายมาแล้วระยะ หนึ่งนับตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช

เมื่อนายสมัครพ้นจากตาแหน่ง ด้วยปัญ หาเรื่องคุณสมบัติตามคาตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ (29 มกราคม- 9 กันยายน 2551) นายสมชาย วงศ์สวัสดิจ์ ึงได้รับการสนับสนุนจากพรรคพลังประชาชนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี (18 กันยายน 2551) แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคาสั่งยุบพรรคประชาชนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552 และตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปีมีผลให้นายสมชายต้องพ้นจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทาให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ขณะที่อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนก่อตั้งพรรคเพื่อไทย ส่วนกลุ่มการเมืองของนายเนวิน ชิดชอบ แยกไปตัง้พรรคภูมิใจไทย

ใน บริบทดังกล่าว แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) ได้ยกระดับการเคลื่อนไหวเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

การเคลื่อนไหวของ นปช. ได้เปลี่ยนมาเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ ์ เวชชาชีวะ มาโดยลาดับนับแต่เมษายน 2552 ซึ่งเป็นการปะทะกันอย่างชัดเจนกับรัฐบาล ส่วนหนึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐบาลใช้กาลังจากกองทัพอย่างเข้มข้นมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าบทบาทของกองทัพ โดยเฉพาะกลุ่มบูรพาพยัคฆ์ พล.ร.2 รอ. ที่มีบทบาทสาคัญในการจัดการกับกลุ่ม นปช. ณ จุดสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อก่อนเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552 จนถึงกับมีการระบุว่าเป็น“โจทก์เก่า” ของฝ่ายเสื้อแดง

ในการชุมนุมใหญ่ของ นปช. วันที่ 12 มีนาคม 2553 มุ่งกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ ์ยุบสภา กระทรวงมหาดไทยประเมินว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 70,000 คน และรัฐบาลตอบโต้ด้วยการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคง และตั้ง ศอ.รส. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมัน่ คงเป็นผู้อานวยการศูนย์ มีสถานที่บัญชาการที่กรมทหารราบที่11 รักษาพระองค์ และพักอาศัยในกรมทหารราบที่ 11 จงึ ทาให้ฝ่าย นปช. เคลื่อนขบวนไปกดดันหน้ากรมทหารราบที่ 11 และมีการระดมขอบริจาคเลือดกว่า 300,000 ซีซีนาไปเทยังที่ทำการพรรคประชาธิปัต ย์และบ้านพักส่วนตัวของนายอภิสิทธิ ์ เวชชาชีวะ ในระหว่างนั้นมีข่าวการยิงจรวดอาร์พีจีถล่มห้องทางานในกระทรวงกลาโหม และกดดันฝ่ายรัฐบาล โดย นปช. ยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาพร้อมกับกระจายการชุมนุมไปหลาย จุด จนทาให้กองทัพกดดันรัฐบาลให้มีการเจรจา ภายหลังที่ นปช. ประกาศบุกกรมทหารราบที่ 11

ในที่สุด ในวันที่ 28 มีนาคม 2553 รัฐบาลจัดให้มีการเจรจาที่สถาบันพระปกเกล้า และถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ คณะเจรจาประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ ์ สภาวสุ นายชานิ ศักดิเศรษฐ และฝ่าย นปช. โดยนายวีระ มุสิกพงษ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ ใช้เวลากว่าสองชั่วโมงครึ่ง แต่ไม่บรรลุข้อตกลง และมีการเจรจาในวันต่อมาโดยฝ่ายรัฐบาลต้องการยุบสภาในกรอบเวลา 9 เดือน ขณะที่ฝ่าย นปช. ยืนยันว่าจะต้องยุบสภาผู้แทนราษฎรภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งไม่บรรลุข้อตกลง

ฝ่าย นปช. ประกาศระดมมวลชนในวันที่ 3 เมษายน แต่มีข่าวว่า น.พ. วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ประกาศว่ารัฐบาลจะยุบสภาในวันที่ 6 ธันวาคม 2553 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 มกราคม 2554 อย่างไรก็ดี ไม่มีการยืนยันจากรัฐบาล ขณะที่กลุ่ม นปช. ยืนยันว่ารัฐบาลจะต้องประกาศให้ชัดว่าจะยุบสภาวันใด

นักสันติวิธี ต่างเรียกร้องให้มีการเจรจารอบสาม โดยทางลับ แต่ไม่มีการสนองตอบจากท้งสองฝ่าย จึงทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ นปช. สายฮาร์ดคอร์อย่างนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรองเคลื่อนขบวนไปกดดัน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ดาเนินคดีเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ และกดดันฝ่ายตำรวจด้วยการใช้ยุทธการขนมชั้นเพื่อล้อมเจ้าหน้าที่ตารวจและ ทหารมิให้ขัดขวางการชุมนุม เป็นต้น

สถานการณ์พัฒนามาจนถึงจุดสาคัญ คือการบุกยึดสถานีภาคพื้นดินของสถานีไทยคมเพื่อเปิดช่องสัญญาณของพีทีวีอีก ครัง้ หนึ่ง เมื่อรัฐบาลตัดสินใจยึดสถานีดาวเทียมไทยคมจากกลุ่มคนเสื้อแดงหรือ นปช. ในวันที่ 9 เมษายน 2553 โดยส่งกาลังทหารกว่า 30 กองร้อยจากกองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม. 1 จากเพชรบูรณ์ น่าน อุตรดิตถ์) กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ. จากกรุงเทพฯ) กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9 จากกาญจนบุรี) และกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ไปยึดสถานีดาวเทียมไทยคมจากกลุ่ม นปช. ที่ชุมนุมกันกว่า 1.5 หมื่นคน จึงนับเป็นการปะทะที่ทาให้ฝ่ายทหาร “เสียเกียรติเสียศักดิศ์ รีที่ทหารหลายพันคนต้องยอมวางโล่ กระบอง และอาวุธทุกอย่างที่มี ยอมแพ้ต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่เวลานั้นยังไม่มีกองกาลังติดอาวุธ ถูกผู้ชุมนุมยึดอาวุธ สั่งการไล่ต้อนให้เดินแถวออกไปสู่ทุ่งนา...”

อย่าง ไรก็ตามทางฝ่าย นปช. ได้สลายการชุมนุมก่อนที่กาลังหลักของพล. ร. 2 รอ. จะเข้ามายึดคืนในที่สุดในเช้าวันที่ 10 เมษายน ได้มีการส่ังการให้ขอคืนพื้นที่ถนนรา ชดาเนิน โดยนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ ผอ. ศอฉ. ร่วมกับผู้นากองทัพ โดยอนุญาตให้ “ใช้อาวุธได้เท่าที่จาเป็น” และ “ต้องจบก่อนสงกรานต์” ผลการปฏิบัติการทำให้ฝ่ายทหารถูกโจมตีจากกองกาลังลึกลับที่เรียกว่า “คนชุดดา” ทาให้ฝ่ายทหารล้มตาย บาดเจ็บเช่นเดียวกับฝ่าย นปช.

ใน ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ 10 เมษายน นั้นมีข้อสังเกตว่าความรุนแรงถูกยกระดับขึ้นเพราะการที่ตัดสินใจผิดพลาดของ ฝ่ายการเมือง การแทรกแซงของฝ่ายการเมืองในการปฏิบัติการทางทหาร ความผิดพลาดในยุทธวิธี เช่น การเลือกใช้กำลังทหารที่เป็นคู่ขัดแย้งของนปช. คือ พล. ร. 2 รอ. หรือบูรพาพยัคฆ์ที่เพิ่งรู้สึกเสียเกียรติเสียศักดิศ์รีจากกรณีสถานีดาว เทียมไทยคม การตัดสินใจสลายการชุมนุมในช่วงเช้าแต่ปฏิบัติการยืดเยื้อถึงเวลาค่ำ โยนแก๊สน้ำตากว่า 200 ลูกจากเฮลิคอปเตอร์ แต่กระแสลมพัดกลับไปทิศที่ตั้งของฝ่ายทหาร การตัดสินใจถอนทหารเป็นไปอย่างล่าช้าจนเป็นผลให้ทหารในบังคับบัญชาของ พ.อ. กู้เกียรติ ศรีนาคา ล้มตายและบาดเจ็บกว่า 30นาย ทหารจาก พล. ร. 9 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.อุทิศ สุนทร เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 188 คน

ใน ทางตรงกันข้าม ในหนังสือ “ลับ ลวง เลือด” ของวาสนา นาน่วมก็ตั้งข้อสังเกตว่าทหารพล. ร. 2 รอ. หรือบูรพาพยัคฆ์ที่ปฏิบัติการนั้นถูกชี้เป้าให้ถูกสังหารไม่ว่าจะเป็น พล.ต.วลิต โรจนภักดี พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม พ.อ. กู้เกียรติ ศรีนาคา (หน่วยแรกที่ “ตบเท้า” ปกป้องพล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา หลังห้องทางานถูกยิงด้วยระเบิด M 79 และร่วมกับ พ.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ที่ออกมาปกป้องนายประนาม พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล) พ.ท. เกรียงศักดิ ์นันทโพธิเดช(ซึ่งถูกระบุว่าเป็นผู้จิกหัวสตรีกลุ่ม นปช. คนหน่งึ ซึ่งต่อมาไม่พบว่าเป็นความจริง)

ในบริบทข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีความ ตึงเครียดระหว่างรัฐบาลกับฝ่าย นปช. มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ 10 เมษายน ขึ้น ก็เกิดความหวาดระแวงระหว่างรัฐบาลกับ นปช.แต่สถานการณ์ไม่ได้ดีขึ้น เพราะฝ่ายรัฐบาลได้ริเริ่มใช้คำว่า “ผู้ก่อการร้าย” และแถลงโต้ว่าทหารไม่ได้ทาร้ายประชาชน แต่ในฝ่าย นปช. ยืนยันว่าการเสียชีวิตของกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นผลจากปฏิบัติการทางทหารของ รัฐบาล ระหว่างนั้นก็ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงเป็นระยะ เช่น การยิงระเบิด M79 ถล่มสีลมและศาลาแดงในวันที่ 22 เมษายน ขณะที่มีกลุ่มเสื้อหลากสีมาชุมนุมยังผลให้นางธัญนันท์ แถบทองเสียชีวิต และผู้บาดเจ็บกว่า 70 คน เมื่อกลุ่ม นปช. ได้เจรจากับนายกอร์ปศักดิ ์ สภาวสุ ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลโดยยื่นข้อเสนอให้ยุบสภาภายใน 30 วัน (23 เมษายน 2553) แต่นายอภิสิทธิป์ ฏิเสธไม่ยอมรับเงื่อนไข ส่งผลให้ความตึงเครียดกลับมาอีก

หลังจากการรัฐบาลปฎิเสธเงื่อนไขของ นปช. กลุ่ม นปช.เร่ิมปรับวิธีการในการต่อสู้โดยประกาศให้เลิกมวลชนเลิกใส่เสื้อแดง และเริ่มเกิดความเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช.ในต่างจังหวัดทั้งการปิดถนนพหลโยธิน และยึดรถตารวจไว้นับสิบคันที่จังหวัดปทุมธานี รวมถึง นปช.ในจังหวัดอื่นๆ ก็รวมตัวกันเพื่อปิดเส้นทางที่คาดว่ารัฐจะใช้เป็นเส้นทางลำเลียงทหารที่จะ เข้ามาในกรุงเทพ

หลังจากเกิดการชุมนุมประท้วงหลายจดุในต่างจังหวัด มีการสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.ที่ปิดถนนพหลโยธิน จังหวัดปทุมธานีและจับกุมผู้ร่วมชุมนุมไปจา นวนหนึ่ง ศอฉ. ได้ประกาศให้จัดการสลายการชุมนุมในทุกพื้นที่ที่มีการปิดถนน ในวันที่ 26 เมษายนวันที่ 28 เมษายน เกิดการปะทะกันระหว่าง นปช.ที่นาโดยนายขวัญชัย ไพรพนา และเจ้าหน้าที่ตารวจ-ทหาร บริเวณถนนวิภาวดีหน้า อนุสรณ์สถานดอนเมืองกลางสายฝน มีทหาร
เสียชีวิต 1 ราย และผู้บาดเจ็บจานวนมาก

วัน ที่ 29 เมษายน กลุ่ม นปช.ที่ถูกจับในกรณีปะทะกันหน้าอนุสรณ์สถานฯ บริเวณดอนเมือง ศาลตัดสินจาคุก 1 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ส่วนกลุ่มกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ยื่นหนังสือให้หน่วยทหาร ในพื้นที่ในต่างจังหวัดให้มีการจัดการกับกลุ่ม นปช.ในวันเดียวกันก็มีการยกระดับความตึงเครียดเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ นายพายัพ ปั้นเกตุ ได้นาการ์ด นปช.200 คน บุกค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากมีข่าวลือว่ามีทหารซุ่มอยู่ในโรงพยาบาล ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

วันที่ 3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ ์เวชชาชีวะได้แถลงในรายการเชื่อมัน่ ประเทศไทยถึงแผนปรองดองที่เสนอโดยรัฐบาล โดยชี้แจงว่าถ้าสถานการณ์ทางการเมืองสงบลงก็จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ ภายในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ และมีการจัดตั้งกรรมการอิสระสอบสวนเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน, 22 เมษายน และ 28 เมษายน

การตัดสินใจของรัฐบาล ผ่าน ศอฉ. ในห้วงวิกฤต
นับแต่การเข้าจัดการกลุ่ม นปช. ที่สถานีไทยคม ศอฉ. ประกาศใช้มาตรการ 7 ข้อ จากเบาไปหนัก9 กฎการใช้กาลัง 7 ข้อ ได้แก่

1.การชี้แจงทำความเข้าใจ
2. แสดงกาลังให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีความพร้อม
3. ผลักดันด้วยโล่
4. การใช้น้ำฉีด
5. ใช้เครื่องขยายเสียง
6. แก๊สน้าตา กระบอง
7. กระสุนยางที่ยิงจากปืนลูกซอง

แต่ เป็นที่น่าสังเกตว่าแทบจะไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ดาเนินการตาม มาตรการดังกล่าว ซึ่งในแต่ละขั้นตอน โฆษก ศอฉ. ชี้แจงว่าจะพยายามให้ผู้ชุมนุมได้รับทราบความจำเป็นที่จะใช้กฎการใช้กาลัง ทัง้ 7 ข้อก่อน
ความเข้าใจสถานการณ์ในวันที่ 13 พฤษภาคม จึงนับเป็นรอยต่อที่สาคัญของการยกระดับสู่ความรุนแรงที่มากขึ้น เพราะจากความตึงเครียดของทั้งฝ่าย นปช. และฝ่ายรัฐบาลทำให้ นปช. เกรงว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะเอนเอียงเข้าทางรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีการกดดันให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณเข้ามอบตัวต่อตารวจในฐานะผู้ต้องหา แต่นายสุเทพกลับ “เลือก” มอบตัวต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษและไปในฐานะรองนายกรัฐมนตรี จึงทาให้มวลชนฝ่าย นปช. ไม่พอใจอย่างยงิ่

เป็นที่น่าสังเกตว่า ศอฉ. เริ่มกดดันฝ่าย นปช. กลับ โดยแถลงมาตรการกระชับวงล้อมโดยโฆษก ศอฉ. พ.อ. สรรเสริญ แก้วกาเนิด กล่าวว่าไม่สามารถเปิดเผยจานวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในการกระชับวงล้อม ได้ และกล่าวต่อไปว่า ศอฉ. มั่นใจว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายอยู่ในที่ชุมนุมและมีอาวุธร้ายแรง หากผู้ก่อการร้ายยิงอาวุธสงครามเข้ามาปะทะกับเจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องใช้ อาวุธกระสุนจริงยิงสกัดใน 3 กรณี คือ 1. ยิงเพื่อข่มขวัญ ขึ้นฟ้า 2.ยิงป้องกันชีวิต และ 3. ยิงไปยังบุคคลที่มีอาวุธในมือ การประกาศของโฆษก ศอฉ. เป็นช่วงที่น่าสนใจ เพราะเกิดขึ้นก่อน พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผลจะถูกลอบสังหารเพียง 7 ชัว่ โมงเศษเท่านั้น ประกาศดังกล่าวจึงเป็นสัญญาณรอการขับเคลื่อนเมื่อพล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกลอบสังหารในเวลาประมาณ 19.00 น. และมีความตึงเครียดในกลุ่ม นปช. มากขึ้น และเริ่มมีการยิงพลุจากฝั่ง นปช. และมีเสียงระเบิด M79 เป็นระยะในเวลา 21.30 น. จึงเริ่มมีการใช้ลูกแก้ว หัวน๊อต ยิงไปยังฝ่ายทหาร ซึ่งทหารได้ใช้วิธีการยิงปืนขึ้นฟ้ าเพื่อข่มขวัญ และยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม การปะทะยกระดับความรุนแรงขึ้น จนนายชาติชาย ชาเหลาถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. และมีผู้บาดเจ็บจานวนหนึ่งจนทวีความรุนแรงขึ้นโดยลา ดับ จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม


ข้อสังเกตในตัดสินใจและปฏิบัติการของ ศอฉ. ระหว่าง 13-19 พฤษภาคม 2553

1. ในระหว่างการชุมนุมมีการสร้างภาพความขัดแย้งระหว่างทหารกับ นปช. โดยเฉพาะกองกาลังพล ร.2 รอ. ที่มีฉายาบูรพาพยัคฆ์กับฝ่าย นปช. ถึงกับมีการบ่งชี้ว่าเป็น “โจทก์เก่า” ส่งผลต่อการตั้งคาถามต่อความรอบคอบเหมาะสมในการตัดสินใจของรัฐบาลและ ศอฉ. ว่ามีทางเลือกที่จะใช้กาลังหน่วยอื่น เช่น หน่วยอรินทราชเพื่อดาเนินการกับชายชุดดา หรือหน่วยปราบจราจลเพื่อดาเนินการกับผู้ชุมนุมทั่วไป นอกจากหน่วย พล ร.2 รอ. หรือไม่ เพราะขณะปฏิบัติการจะเห็นภาพการใช้รถสายพานหุ้มเกราะในวันที่ 19 ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายทหารควบคุมพื้นที่ได้ตัง้แต่กลางดึกของวันที่ 18 พฤษภาคม เป็นต้น

2. ผลสืบเนื่องจากข้อ 1 ทาให้เกิดคาถามตามหลักสากล การกาหนดยุทธวิธีในการเข้าปะทะ (Rule of Engagement) จะต้องไม่ใช้หน่วยทหารที่ถึงขัน้ ละลายจากการปะทะครัง้ ก่อนหน้าหรืออาจมีอารมณ์ในการปะทะกับฝูงชนหรือประชาชน ซึ่งมีความโกรธแค้นอยู่เป็นทุนเดิม การเลือกใช้กาลังทหารที่มีการเผชิญหน้ากับ นปช. อย่างต่อเนื่อง สร้างความอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อยแก่กำลังพลจะส่งผลต่อวิธีการปฏิบัติการและปฏิกิริยาสนองตอบต่อ ประชาชนพลเมืองต่างไปจากหน่วยทหารที่ได้รับการ “พักหรือเว้นวรรค” จากการปฏิบัติหน้าที่ในสนาม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตารวจซึ่งมีการผัด เปลี่ยนหมุนเวียนตามหน่วยต่างๆ สะท้อนให้เห็นความผิดพลาดของรัฐบาลและ ศอฉ. ในการตัดสินใจเลือกใช้กาลังพลที่มีอารมณ์โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียวกับประชาชน จนส่งผลให้เกิดอคติอย่างรุนแรง และปฏิบัติต่อประชาชนอย่างรุนแรงโดยลำดับ

สิ่ง เหล่านี้น่าจะป้องกันบรรเทาได้ด้วยการใช้หน่วยทหารที่มีความชานาญเฉพาะ เช่น หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาทหาร หรือกลุ่มทหารพัฒนามากกว่าจะใช้หน่วยรบ ขณะเดียวกันปัญหาในการบังคับบัญชากองทัพก็เป็นเรื่องน่าสังเกตว่าสายการ บังคับบัญชาในระหว่างก่อนเกิดเหตุการณ์เดือนพฤษภาคมมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า บทบาทของกองทัพในเดือนเมษายนที่กดดันให้รัฐบาลต้องเจรจามากกว่าจะใช้กาลัง ทหารคำถามสำคัญจึงอยู่ที่ระบบการตัดสินใจและสายการบังคับบัญชาว่ารัฐบาล กองทัพ และ ศอฉ. ใช้หน่วยทหารกลุ่มเดียวกัน นับตั้งแต่ เมษายน 2552, เมษายน 2553 และ พฤษภาคม 2553 สะท้อนการตัดสินใจแบบใด และเป็นการตัดสินใจที่แบบที่เล็งผลชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือหวังผลให้เกิด ความสูญเสียน้อยที่สุด หรือไม่ ทั้งนี้มีแรงกดดันใดจากภายนอกโครงสร้างรัฐหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาในระยะยาวที่สังคมไทยจะต้องขบคิดทบทวนปฏิบัติการของ รัฐต่อประชาชนหรือไม่

3. การเคลื่อนกำลัง ในการเคลื่อนกาลังของกองทัพใช้รถสายพานและรถบรรทุกส่วนหนึ่งในการเคลื่อนกา ลังรถสายพานดัดแปลงเพื่อสลายการชุมนุมเป็นทัง้ ข้อดีและข้อเสีย ดังที่ปรากฏในวันที่ 10 เมษายน ว่าการใช้รถสายพานลาเลียงน่าจะก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาในการข่มขวัญฝ่ายผู้ ชุมนุมและช่วยป้องกันนายทหารภาคสนามได้ แต่หลังจากวันที่ 10 เมษายนยุทธวิธีนี้น่าจะข่มขวัญได้และสร้างความโกรธแค้นมากกว่า

ในการ ใช้รถบรรทุกพบว่ามีความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพของทหาร เนื่องจากผู้ชุมนุมกระจายตัวไปตามจุดต่างๆ และมีปฏิกิริยาโกรธแค้นต่อการปฏิบัติการทางทหาร ดังจะเห็นจากการเข้าขวาง ทุบรถ ยึด ทำลาย หรือใส่ทรายลงในถังน้ามัน เป็นต้น ในบางกรณีมีการส่งตัวทหารขึ้นรถแท็กซี่ แต่ในบางกรณีทหารถูกทำร้ายจนต้องมีการกันตัวออกไปโดยเร็ว

4. การสื่อสารสั่งการตามสายการบังคับบัญชาในปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กาลังกว่า ห้าหมื่นนาย ได้ใช้วิธีการสื่อสารใดในระหว่างปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นจดหมาย หนังสือราชการ สั่งการทางวิทยุ โทรศัพท์มีการสอบทวนคาสั่งที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะจากการที่โฆษก ศอฉ.ออกมาชี้แจงว่าจะยึดมาตรการ 7 ข้อ จากเบาไปหาหนักนั้น ได้มีการเน้นย้า และปฏิบัติจริง เพียงไร

ภาพรถจักรยานยนต์ที่ล้มลงพร้อมการเสียชีวิต ของพลทหารณรงค์ฤทธิ ์ สาระในวันที่ 28 เมษายน 2553 น่าจะเป็นบทเรียนสาคัญในการจัดการสื่อสารของกองทัพได้ไม่มากก็น้อย และได้แก้ไขปัญหานี้ก่อนจะเข้าขัดการกับ นปช. ในเดือนพฤษภาคม อย่างไร ในบางกรณีก็ยังเป็นปริศนา เช่น บุคลากรของกองทัพอากาศ 2 นาย ขับขี่รถยนต์กระบะเข้าพื้นที่ในวันที่ 17 พฤษภาคมและถูกยิงบริเวณ ทาให้ จ.อ.อ. พงศ์ชลิต พิทยานนท
กาญจน์ เสียชีวิต เป็นต้น

5. ในทางยุทธวิธีว่าทหารได้รับคาสั่งให้ดาเนินการกับ นปช. และผู้ชุมนุมอย่างไร มีมาตรการแยกแยะผู้ชุมนุม ออกจากประชาชนทัว่ ไปและกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่ ทาง ศอฉ. ได้จัดทำแผนใดรับรองหรือไม่ ดังเช่น การดำ เนินการกับพระภิกษุที่เข้าร่วมและสังเกตการชุมนุมได้ดำเนินการโดยละมุนละ มอ่มอย่างไร การปฏิบัติต่อเยาวชนและสตรี ได้กากับแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมต่อผู้ปฏิบัติงานสนามโดยยึดหลักสิทธิ มนุษยชนและกฎหมายหรือไม่

6. ปฏิบัติการของ ศอฉ. เน้นการใช้วิธีการใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญ เช่น การยิงปืนขึ้นฟ้าถูกใช้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 0.10 น. ซึ่งเป็นเวลากลางดึก จากนั้นก็ใช้วิธีการยิงกระสุนยางในตอนเช้าเวลา 7.00 น. เพื่อเปิดทางให้ทหารเข้าพื้นที่ควบคุม จากนั้นมีการใช้กระสุนยางยิงเปิดทางในเวลาประมาณ 12.00 น. แต่ก็มีการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญอีกในเวลา 12.30 น.มีการใช้แก๊สน้าตาและยิงปืนข่มขู่ควบคู่กัน จนกระทั่งมีการปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มกองกาลังในสวนลุมพินีมีการปะทะกัน ด้วยกระสุนจริงในช่วงเวลา 12.30-13.30 น. ส่วนการ์ด นปช. ในย่านถนนพระราม 4 ได้จา กัดการตอบโต้เพียงประทัดยักษ์และพลุบัง้ ไฟ ในเวลาต่อมามีการปะทะกันระหว่างทหารกับการ์ด นปช. ที่ยิงน็อต หินและลูกแก้วพลุตะไล ขณะที่ทหารเลือกใช้กระสุนยางตอบโต้ การปะทะดาเนินไปจนถึงเวลา 14.00 น. จึงพบผู้เสียชีวิตศพแรกบริเวณริมบึงในสวน ลุมพินี

ความรุนแรงจึงถูก ยกระดับขึ้นด้วยอารมณ์ของกลุ่มผู้ชุมนุมและทหารที่ปฏิบัติการ เช่น ที่แยกราชปรารภ เวลา 20.45 ผู้ชุมนุมด่าทอยัว่ ยุทหาร แต่ทหารยิงปืนขึ้นฟ้าตอบโต้ ผลก็คือมีผู้ชุมนุมถูกกระสุนปริศนายิงเข้าลา คอ ตัดเส้นเลือดใหญ่

ขณะที่ทางแยกมักกะสัน ทหารใช้วิธีเรียงแถวหน้ากระดานกดดันโดยใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าและใช้กระสุนยางยิง ไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม ความสับสนระหว่างการชุมนุมและการจัดการฝูงชนของ ศอฉ. มีข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 นั้น น่าจะเป็นบทเรียนที่ถูกนามาพิจารณาก่อนใช้กาลังทหารจัดการฝูงชน เมื่อทหารไม่สามารถใช้วิธีกดดันโดยเรมิ่ จากการเข้าแถวเรียงหน้ากระดาน แล้วยิงกระสุนยางข่มขวัญ แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนมาใช้กระสุนจริง การดาเนินการเช่นนี้จึงน่าจะขึ้นกับผู้บังคับบัญชาภาคสนามในการตัดสินใจ

กรณี พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 รัฐบาลเริ่มใช้กาลัง “กระชับวงล้อม” ตั้งแต่เวลา03.00 น. ในวันที่ 18 พฤษภาคม บางส่วนไปจัดการที่ถนนราชดาเนินโดยใช้กาลัง 1 กองพัน “เรียงหน้ากระดานไปหากลุ่มม็อบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเรมิ่ เปิดฉากยิงเป็นชุดๆ โดยยิงเฉียงขึ้นฟ้า”11 ปฏิบัติการดังกล่าวไม่สามารถระงับฝูงชนที่โกรธแค้นได้และนามาซึ่งความรุนแรง ในการปะทะกัน ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกของทหารที่ปฏิบัติการ ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติต่อประชาชนและคณะแพทย์ในโรงแรมรัตนโกสินทร์เป็น ภาพที่หลายคนน่าจะยังจดจาได้เป็นอย่างดี

ที่ สาคัญคือเหตุใดทั้ง ศอฉ. และรัฐบาลนายอภิสิทธิ ์ (หรือนายอภิสิทธิซึ่งเป็นผู้รู้เห็นในกรณีพฤษภาคม 2535 โดยตรง) จึงไม่มีการทบทวนบทเรียนจากเดือนพฤษภาคม 2535 ว่าการใช้วิธีดังกล่าวจะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด เพราะการยิงขึ้นฟ้าข่มขวัญด้วยกระสุนจริงก็เสี่ยงต่อความบาดเจ็บล้มตาย เมื่อกระสุนตกจากท้องฟ้าก็สามารถสร้างอันตรายถึงชีวิตในระดับเดียวกับการประ ทับเล็งยิงไปข้างหน้า

7. เมื่อรัฐใช้ทหารเข้าจัดการชุมนุมของพลเรือน เครื่องบ่งชี้ความรุนแรงอีกประการหนึ่งได้แก่การใช้กระสุนรบกับประชาชน หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ ์มีการเปิดเผยจานวนกระสุนที่ถูกเบิกจ่ายและใช้ไปในระหว่างการจัดการ เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม2553 ยอดเบิกจ่ายกระสุนปืน ตั้งแต่ 11 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 น่าสะเทือนใจเพราะพล.อ.ดาว์พงษ์ ถึงกับอุทานว่า "ตัวเลขเป๊ะๆ" นั้น หลุดออกมาได้อย่างไร…”

ตาม รายงานการใช้กระสุนปืนและ เครื่องระเบิด (สป.5) ของกรมสรรพาวุธ ทบ. ระบุว่ามีการเบิกกระสุนปืนลูกซองขนาด 12 เกจ เบอร์ 00 ไปทัง้ หมดรวม 350,000 นัด แต่ส่งคืนคลังแค่ 301,271 นัด กระสุนปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 ม.ม. เอ็ม 193 ที่ใช้กับปืนเอ็ม-16 เอ 1 จา นวน 20,000 นัด แต่คืนคลัง 17,260 นัด
กระสุนปืนเล็กยาว 5.56 เอ็ม 855 หรือที่เรียกกันว่า "กระสุนหัวสีเขียว" ที่ใช้กับปืนเอ็ม-16 เอ 2 จา นวน 150,000 นัด แต่ส่งคืนคลัง 105,268 นัด กระสุนปืนเล็กยาวซ้อมรบ 5.56 หรือกระสุนแบลงค์ 10,000 นัด คืนมาแค่ 3,380 นัด กระสุนปืนเล็กยาวแบบเจาะเกราะ 85,000 นัด ส่งคืน 5,500 นัด กระสุนปืนเล็กยาว 7.62 แมตช์ เอ็ม.852 ที่ใช้กับปืนเอ็ม-60 จา นวน 2,000 นัด ส่งคืน 860 นัด และ กระสุนปืนเล็กยาว 88 ราง
8 นัด จานวน 50,000 นัด ส่งคืน 45,158 นัด

กระสุน ปืนซุ่มยิง (สไนเปอร์) แบบ SG 3,000 ขนาด 7.62 ม.ม. ที่มีการเบิกไปถึง 3,000 นัด แต่มีการนามาคืนคลัง 480 นัด ในรายงานของหนังสือพิมพ์มติชนถึงกับระบุว่าข้อมูลดังกล่าว “...สะท้อนว่าทหารได้ลัน่
กระสุนสไนเปอร์ไปมากกว่า 2,000 นัด…”

8. การตั้งเขตยิงกระสุนจริง ในเขตราชปรารภ และซอยรางนำ้เป็นการสร้างข้อกังขาให้แก่ผู้ได้พบเห็นมาก เพราะเป็นจุดที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดจุดหนึ่ง ผู้ได้รับผลกระทบทัง้ จากผู้ชุมนุมและประชาชน เยาวชน จนถึงประชาชนที่พักอาศัยในย่านดังกล่าวเขตยิงกระสุนจริงถูกประกาศในเวลา 11.00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ถนนราชปรารภตัดกับแยกดินแดง แต่เพียงไม่นานก็ถูกถอด เปลี่ยนเป็นป้าย “บริเวณนี้ใช้เครื่องมือปราบจราจล” ในเวลา 16.20 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 รวมเวลาที่ใช้กระสุนจริงอย่างน้อย 29 .20 ชัว่ โมง หรือหนึ่งวันกับ 5.20 ชั่วโมง

ตามรายงานของ คมชัดลึกระบุว่าประมาณ 11.00 น. มีการระดมยิง M79 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ในระหว่างการประกาศพื้นที่ยิงกระสุนจริงนั้นมีความตึงเครียดมาก เพราะการปะทะดา เนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถลาเลียงผู้บาดเจ็บได้ มีการตอบโต้จากผู้ชุมนุมโดยการเผาตู้โทรศัพท์ทา ให้เกิดไฟลุกลามไปอาคารใกล้เคียง จากนั้นจึงยึดรถน้าเพื่อขวางถนนอย่างไรก็ดี มีรายงานว่าทหารสามารถยึดพื้นที่ ถ. ราชปรารภได้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม แต่การปะทะยังคงดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีรายงานว่ามีการระดมยิงจากตึกสูงจากกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย วันที่ 15 พฤษภาคม ยังมีการตั้งเขตยิงกระสุนจริงยังขยายไปถึงบริเวณแยกพระราม 4 บ่อนไก่ และหน้าสนามมวยลุมพินีที่มีรายงานว่าทหารติดตั้งป้าย “เขตใช้กระสุนจริง” ในเวลา
18.05 น. และแจกจ่ายอาวุธ M16 ให้แก่ทหาร

เป็น ที่น่าสังเกตว่าปฏิบัติการตั้งเขตยิงกระสุนจริงนั้นเป็นไปตามคาแถลงเรื่อง มาตรการ 7 ข้อ ของ ศอฉ. หรือไม่? หรือมีคาสั่งในรูปอื่นใดที่อนุญาตให้ทหารปฏิบัติการยกระดับความรุนแรงเป็น การใช้กระสุนจริง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องรอตรวจสอบจากทหารปฏิบัติการจริงทั้ง สัญญาบัตรและประทวนในพื้นที่ มิใช่ทหารฝ่ายธุรการที่ส่งมาให้ปากคา แก่สังคม

9. การจัดการหน่วยกู้ชีพ ความสูญเสียอาจลดได้มาก หากรัฐบาลได้จัดเตรียมกาลังและประสานงานกับหน่วยกู้ชีพ เว้นแต่มีความต้องการกำจัดผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 18.30 น. หน่วยกู้ชีพทุกหน่วยถูกสั่งให้ถอนกาลังออกจากพื้นที่ ผู้ชุมนุมรับภาระในการนาผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเอง, ในวันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 16.50 น.รถกู้ชีพไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะถูกทหารยิงสกัดเอาไว้ มีเพียงคันเดียวที่เข้าไปรับคนเจ็บ ได้ในวันน้นั กล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตการณ์ของหน่วยกู้ชีพ เพราะมีอาสาสมัครคือนายมานะ แสนประเสริฐศรี ถูกยิงเสียชีวิตที่ซอยงามดูพลีขณะที่นารถไปรับศพที่โรงพยาบาลเลิดสิน ทั้งๆ ที่
เป็นเวลากลางวันประมาณ 17.05 น. มีแสงสว่างชัดเจนพอที่จะแยกแยะได้

10. การเจรจาเพื่อลดระดับความขัดแย้งให้เข้าสู่ภาวะปกติ ความพยายามในการเจรจาของฝ่ายรัฐบาลขึ้นกับบทบาทของนายอภิสิทธิ ์ เวชชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในขณะที่แกนนา นปช. มีบทบาทสา คัญในการเจรจาตัง้ แต่วันที่ 28 มีนาคม และเมื่อการเจรจาล้มเหลวจะเห็นได้ว่ามีความพยายามของกลุ่มอื่น เช่น ฝ่ายวุฒิสภาที่เสนอตัวเข้ามาร่วมคลี่คลายวิกฤต ในวันที่ 17 พฤษภาคม เวลา 15.20 น. พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี นาคณะมายื่นหนังสือเพื่อเสนอทางออก โดยกลุ่มส.ว. ได้ประชุมมีข้อเสนอยุติหาทางออกให้กับบ้านเมือง คือ

1. ขอให้รัฐบาลยุติการใช้กาลังสลายการชุมนุม 2. ขอให้กลุ่ม นปช. หยุดโต้ตอบการใช้ความรุนแรงและ 3. ขอให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ทางวุฒิสภาพร้อมเป็นตัวกลางซึ่งกลุ่มสว. ยืนยันว่ายื่นข้อเสนอกับทางรัฐบาล และรัฐบาลพร้อมเจรจา แต่ที่ผ่านมาการเจรจามีปัญหา เพราะนปช. มีการเปลี่ยนแปลงข้อเจรจาตลอดเวลา กระทั ่ งวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 19.10 น. คณะตัวแทน 64 ส.ว. ประกอบด้วย พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี นางนฤมล ศิริวัฒน์ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ และนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ได้เข้าหารือกับแกนนา นปช. เพื่อยื่นข้อเสนอในการเจรจาปรองดองกับรัฐบาล พล.อ.เลิศรัตน์ แถลงว่า กลุ่มสว. มีความห่วงใยในสถานการณ์บ้านเมืองจึงมีมติมาช่วยคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมือง มีการส่งตัวแทนเพื่อเข้ายื่นข้อเสนอต่อนายกฯ และมาประชุมกับแกนนา นปช. ซึ่งได้รับข้อสรุปว่าแกนนา นปช.เห็นชอบข้อเสนอของส.ว. ที่จะให้ประธานวุฒิสภาเป็นทูตประสานการเจรจา โดยจะให้มีการหยุดยิงทั่วกทม. ทั้งบ่อนไก่ ราชปรารภและศาลาแดง ทั้งนี้แกนนา นปช. ยังเรียกร้องผ่านประธานวุฒิสภา ให้เจ้าหน้าที่เลิกใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมทุกกรณี ที่เกิดความรุนแรงตลอด 5 วัน เป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม และทาให้เกิดความรุนแรงโดยไม่เจตนา ในฐานะที่เป็นทหาร เชื่อว่าทหารไม่มีใครอยากฆ่าประชาชนคนไทยด้วยกัน และให้มีการยุติการใช้อาวุธและความรุนแรง

อย่างไรก็ดี ไม่มีคาตอบจากฝ่ายรัฐบาลจนวินาทีสุดท้ายที่เข้าสลายการชุมนุม ส่งผลให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งกรณี 6 ศพวัดปทุมวนารามอีกด้วยข้อเสนออื่นๆ

11. การละเลยรายละเอียดเล็กๆ แต่สาคัญในเทคนิคการเจรจาแบบสันติวิธี เช่น การจัดโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนา นปช. เป็นจัดโต๊ะแบบประจันหน้า ที่กาหนดลำดับชั้น อาวุโส และการเป็นคู่ตรงกันข้าม น่าเสียดายว่าทีมสันติวิธีที่เป็นคนกลางน่าจะพิจารณาจัดโต๊ะแบบกลมเพื่อ เลี่ยงความรู้สึกประจันหน้าระหว่างศัตรู นอกจากนี้ เราจะเห็นได้ว่าในช่วงท้ายๆ ของการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ได้มีความพยายามของสมาชิกวุฒิสภาจานวนหนึ่ง พยายามเสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ย แต่ทาง ศอฉ. ไม่สนองตอบแต่อย่างใด ยังคงรุกคืบเข้ากระชับพื้นที่ ถึงแม้ว่าจานวนผู้บาดเจ็บล้มตายยังเพมิ่ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาถึงตอนนี้อาจเป็นเรื่องไร้เดียงสาที่จะกล่าวว่ากระบวนการสันติวิธีใน สังคมไทยล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ข้อสังเกตทั้ง 11 ข้อ เป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเพื่อคลี่คลายปัญหาการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งบทเรียนน้ีจะได้ขยายการศึกษาในระยะยาวต่อไปข้อสังเกตว่าด้วยผู้ชุมนุม ที่บาดเจ็บและเสียชีวิต

1. กลุ่มผู้บาดเจ็บ
เอกสาร ที่ได้จากสถานพยาบาล ได้มีสถิติคนเจ็บระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พบว่ามีคนจ็บที่ถูกบันทึกเอาไว้จานวน 582 ราย เวลาที่ผู้บาดเจ็บถูกนาส่งโรงพยาบาลเป็นเวลาระหว่าง 12.00-18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุดถึงร้อยละ 30 เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นเวลากลางวันที่ผู้บาดเจ็บน่าจะเป็น “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนและผู้ยิงหรือสัง่ การยิงมาสมารถ “เห็น” ได้เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดดปกติ รองลงมาคือกลุ่มที่ถูกยิงระหว่างหลังเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้ากว่าร้อยละ 16 แต่กลุ่มผู้บาดเจ็บที่มากที่สุดไม่สามารถระบุเวลาแห่งอาการบาดเจ็บได้ถึง ร้อยละ 41

ในกลุ่มผู้บาดเจ็บเป็นพลเรือนถึงร้อยละ 90.2 ขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารตารวจร้อยละ 7.04
กลุ่มผู้บาดเจ็บเป็นชายมากที่สุดคือร้อยละ 93.99 และเพศหญิงร้อยละ 5.84

ในการบาดเจ็บที่ระบุอาการได้ พบว่า ถูกกระสุนร้อยละ 45.36 สามารถจาแนกเป็น
บาดแผลที่ศีรษะร้อยละ 9.59 คอร้อยละ 2.24 ลาตัวร้อยละ 27.4 ช่วงแขนร้อยละ 22.26 ขาร้อยละ 28.77

2. กลุ่มผู้เสียชีวิตซึ่งนับเฉพาะบริเวณบ่อนไก่พระราม 4 ร้อยละ 20 สีลม (ศาลาแดง สวนลุมพินี และราชดำริ) ร้อยละ 22 รางน้าดินแดงร้อยละ 30 ราชปรารภและซอยหมอเหล็งร้อยละ 7

รวมยอดผู้เสียชีวิตในเขตดังกล่าว ระหว่าง 13-19 พฤษภาคมมีจานวน 55 ราย กลุ่มใหญ่ที่สุดคืออายุวัยฉกรรจ์จนถึงวัยกลางคน คือระหว่าง 20-49 ปี ในกลุ่มนี้เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ (รับจ้าง แท็กซี่ อาสาสมัครและค้าขาย) กว่าร้อยละ 61 เป็นทหารร้อยละ 6 ภูมิลาเนาของผู้เสียชีวิตมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 42 รองลงมาคือ กรุงเทพมหานครร้อยละ 35 ไม่สามารถระบุได้ร้อยละ 15

ตำแหน่ง บาดแผลที่มีนัยสาคัญต่อการเสียชีวิต พบว่าร้อนละ 36 เป็นบาดแผลที่ศีรษะ ช่วงอกร้อยละ 27 ช่วงลาตัวร้อยละ 12 ลาคอร้อยละ 11 สาเหตุของการเสียชีวิตได้แก่อาวุธปืนถึงร้อยละ 78 ร้อยละ 9 เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต

มี ข้อสังเกตว่าอัตราส่วนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่บาดเจ็บจากกระสุน ปืน และน่าจะพิจารณาประกอบกับการปฏิบัติการของ ศอฉ. ว่าเป็นไปด้วยความละมุนละม่อมหรือไม่อย่างไร เพราะสัญญาณของความรุนแรงที่มากขึ้นน่าจะสัมพันธ์โดยตรงกับการห้ามรถกู้ชีพ เข้าพื้นที่และมีเจ้าหน้าที่กู้ชีพถูกสังหาร

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ครป. พันธมิตรฯ และการรัฐประหาร

โบนัสยึดสนามบิน-ปรีดา เตียสุวรรณ์ สปอนเซอร์ใหญ่พันธมิตรตบรางวัลทัวร์อียิปต์ 10 วันให้พันธมิตรสายNGOsไปทัวร์อียิปต์ หลังจากยึดสนามบินโค่นรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชนสำเร็จ ในภาพนี้ก็มีสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สมศักดิ์ โกศัยสุข พิภพ ธงชัย สุริยะใส กตะศิลา นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ สุริยันต์ ทองหนูเอียด เป็นอาทิ ตอนนี้พวกเขากำลังเสนอปฏิรูปการเมือง กับโหวต NO


นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมารณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (น่าจะเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการรัฐประหาร น่าเหมาะกว่า ) ได้แถลงจุดยืนของครป.ในการเลือกตั้งครั้งนี้ไว้เมื่อไม่นานมานี้


โดยเนื้อหาสาระแนวความคิดหลักของแถลงการณ์นั้น เป็นเพียง”วาทกรรม”ที่ใช้มาตลอดของพวกอำมาตยาธิปไตย พวกนิยมรัฐประหาร พวกอนุรักษ์นิยม พวกไม่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ไม่เชื่อว่าให้อำนาจอธิปไตยควรมาจากประชาชน

เพื่อทำลายความชอบธรรมของนักการเมือง เพื่อให้คนดีมีศีลธรรม (ต้องคนดีของพวกอำมาตย์เท่านั้น)ขึ้นปกครองบริหารประเทศได้
เช่นเดียวกัน

จุดยืนจากแถลงการณ์ครป.ก็ไม่ต่างจากเวทีปราศรัยของพันธมิตรฯ หน้าทำเนียบรัฐบาลทุกวันนี้คือ นอกจากสร้างกระแสคลั่งชาติให้ไทยรบกับเขมรแล้ว ยังมีแนวทางเดียวกัน นั่นคือ ถอยจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ให้พรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้ง และชูธง Vote No

นำโดย สนธิลิ้ม สุริยะใส กตสิลา พิภพ ธงไชย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ มิใช่ฝั่งต้องการให้พรรคการเมืองใหม่ลงสนามเลือกตั้งเช่น สมศักดิ์ โกสัยสุข และ สาวิทย์ แก้วหวาน

แม้ว่า ครป. จัดให้มีกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง “เลือกนโยบายพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” ทำดูเหมือนว่าจักสนับสนุนประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา

แต่มันเป็นเพียงเกมส์สร้างภาพลักษณ์ เท่านั้น เนื่องเพราะเมื่อปี่กลองการเลือกตั้งกังวานไปสักระยะ พวกเขาครป.จะเคลื่อนไหวให้ “โหวตโน” โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีพรรคการเมืองไหนที่ควรเลือกเพื่อการปฏิรูป และ เพื่อกระทำตัวเป็นหางเครื่องให้พันธมิตรอีกครั้งหนึ่ง

เหมือนเช่นคำสัมภาษณ์ของพิภพ ธงไชย ผู้นำทางความคิดของครป. โดยนสพ.ไทยโพสต์ ฉบับแทบลอยด์ล่าสุด : Vote No เพื่อปฏิรูปการเมือง ตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ….

“ครป.ก็ออกแถลงการณ์มาว่า ให้ไป Vote เพื่อปฏิรูป แต่ปัญหาว่าไป Vote เพื่อปฏิรูปจะทำยังไง สุดท้ายแล้วถ้า Vote เพื่อแสดงปฏิรูปอย่างที่ครป.เสนอมามันก็ต้องลงมาที่ช่อง Vote No เพื่อปฏิรูป ทำสำเร็จหรือไม่อีกเรื่องหนึ่งนะ……….ผมก็จะนัดคุยกับองค์กรภาคประชาชนอีก หลายองค์กร เขาไม่จำเป็นต้องมาประกาศเหมือนพันธมิตร เหมือนกรณีที่ครป.ประกาศว่าเลือกตั้งเพื่อการปฏิรูป เขาไม่ได้ประกาศ vote no นะ แต่ต่อไปเราก็ต้องถามว่าเลือกตั้งเพื่อการปฏิรูปจะไปกาช่องไหนล่ะ"

และ ยุทธวิธี Vote No คงเป็นการสร้างกระแสไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่ให้ความชอบธรรมกับนักการเมือง ไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา แม้แต่พรรคการเมืองใหม่

ยุทธวิธีที่ตามมา ไม่ว่าเสียง Vote No จะมากหรือน้อยเพียงใด โอกาสจึงเป็นไปได้สูง เมื่อพรรคเพื่อไทย ได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล ก็จะมีการชุมนุมกดดันของม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรฯ และครป.(พรรคปแมลงสาปก็คงหนุนเช่นเดิมแม้ว่า Vote No จักกระทบต่อฐานเสียงพวกเขาก็ตาม )

ไม่ยอมรับผลการเมืองเลือกตั้ง ไม่ยอมรับให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล และต้อง “ปฏิรูปการเมือง” เท่านั้น ตามแนวทางพันธมิตรที่สนธิ ลิ้มและลิ่วล้อได้เสนอว่าหลังเลือกตั้ง แล้วพันธมิตรจะเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปประเทศไทยต่อไป

แน่นอนว่า ปฏิรูปการเมืองของพวกเขา มิใช่ การปฏิรูปกฎหมาย 112 กองทัพ องคมนตรี และกระบวนการยุติธรรม ที่เป็นอุปสรรคขวากหนามของการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย

แน่นอนว่า ทางเดียวเท่านั้นที่พวกเขาจักดำเนินกระบวนการปฏิรูปได้ นั่นคือ พวกเขาต้องเชื้อเชิญคณะบุคคลนอกระบบประชาธิปไตย กระทำการรัฐประหารเหมือนเช่น รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่พวกเขาเคยกระทำมาแล้ว

เท่ากับว่า พวกเขายังโหยหาแนวทางรัฐประหาร ใช่หรือไม่?

และรัฐประหารรอาจเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ใครก็มิอาจจะทำนายฟันธงล้านเปอร์เซนต์ว่า ไม่ปรากฎเป็นแน่แท้ในขวานทองใบนี้
เพราะเกมส์การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอำมายาธิปไตย คงมิจบเพียงการเลือกตั้งเท่านั้น

ครป. และพันธมิตร ที่เรียกร้องให้ VOTE NO อยู่ขณะนี้ จึงเป็นเพียงหมากหนึ่งในกระดานการเมืองของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย เท่านั้นเอง

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงพร้อมเข้ามาทำงานเพื่อประชาชน

"ความทุกข์ร้อนของลูกค้าและประชาชน รอไม่ได้" ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร




เมื่อไพร่ อย่างคนเสื้อแดง ขอไปกินอาหารไพร่ ที่ซอยทองหล่อ 14/05/2011

สืบเนื่องมาจาก วิวาทะ กันระหว่าง แกนนำคนเสื้อแดง คุณณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ กัน คุณกรณ์ จิตวานิช รมต. คลัง
เมื่อทั้งคู่มากินอาหารในร้านสุดหรูของซอยทองหล่อ

คนเสื้อแดง นำโดย บก. ลายจุด ก็เลยชวนพี่ๆ น้องๆ คนเสื้อแดง ไปทดลองกินอาหารไพร่ ที่ซอยทองหล่อซิว่ามันจะเริดหรู และราคาแสนแพง จนไพร่อย่างคนเสื้อแดง จะไม่มีปัญญา ไปกินไปจ่าย นอกจากพวกอำมาตย์เท่านั้น จริงหรือ


[Image: jpl540514_04.jpg]
ณ. ซอยทองหล่อ 55 ที่ห้องอาหารสุดหรู ชื่อแพรวา เรสเตอร์รอง

[Image: jpl540514_02.jpg]
แกนนอน บก. ลายจุด ไพร่แดง เข้ามานั่งกินบรรยากาศ พร้อมกับสั่งอาหารระดับหรู มาวางบนโต๊ะ

[Image: jpl540514_07.jpg]
ซึ่งร้านอาหารร้านนี้ ขึ้นชื่อ ขนาด พิธีกรทีวีหลายช่อง ยังต้องมาชิม มาถ่ายทำ เชลล์ไม่ต้องชวนชิม

[Image: jpl540514_09.jpg]
อาหารอร่อยจนเลอะปาก บรรยากาศไม่ต้องพูดถึง ช่างโรแมนติกเสียกระไรนี่

[Image: jpl540514_11.jpg]
ทุกมุมของร้านอาหารหรู ต้องจองล่วงหน้า ถึงจะได้โต๊ะ

[Image: jpl540514_12.jpg]
เหมาะมากสำหรับคู่ที่มาฮันนี่มูน แบบว่ารักกัน สวีด สุดๆ บรรยากาศแบบนี้หาที่อื่นไม่มี

[Image: jpl540514_03.jpg]
มากันเป็นหมู่คณะ ทางร้านมีห้องสุดหรู พร้อมคาราโอเกะ

[Image: jpl540514_06.jpg]
ที่จอดรถแสนสะดวกสบาย มีพนักงานคอยรับรถมากมาย ฝนตกก็ไม่หวั่นเรามีร่มบริการ

[Image: jpl540514_05.jpg]
อาหารที่นี่ต้องสั่งล่วงหน้านะ ไม่อย่างนั้นต้องคอยนาน



[Image: jpl540514_08.jpg]
อาหารของเราอร่อยจนต้องกระดกชาม ส่วนราคาต้องทำใจ ผม (จขกท.) มาจากปทุมฯ นั้งรถไปกลับเพื่อมากินชามนี้ หมดเงินไปพันกว่าบาท

[Image: jpl540514_10.jpg]
อยากมาทดลองกินไหมจ๊ะ แม่ช้อยนางรำ เรียนเชิญ รับประกันไม่ผิดหวังค่ะ

[Image: jpl540514_27.jpg]
ลองแวะไปอีกร้านซิ ร้านนี้มีอาหารเลิศรส เมนู ไข่ชั่งกิโล พร้อมน้ำพริกผัก ปลาทู (สูตรนี้ใช้เงินงบประมาณคิดค้น 69 ล้าน)

[Image: jpl540514_20.jpg]
เราตามไปดูในห้องครัวหน่อย โอ้โฮ ส่วนผสมของอาหารมันอลังกา จริงๆ สงสัยร้านนี้แพงหูฉี่แน่ๆ

[Image: jpl540514_25.jpg]
อุ๊ย ได้เชพ ผีมือดีจาก อิมพีเรียล อะไรซักอย่างนี่แหละ (ชื่อภาษาอังกฤษจำยาก) อย่างนี้ไม่อร่อยได้อย่างไร

[Image: jpl540514_21.jpg]
กุ๊กใหญ่ทำเอง แม่ครัวถอยไป ดูลีลาซิ

[Image: jpl540514_22.jpg]
ร้านนี้ต้องเข้าคิวนะ แบบว่าลูกค้าเยอะมาก ระหว่างปรุงอาหารก็มีช่างภาพจากต่างประเทศมาสืบ แอบถ่าย เพื่อนำสูตรลับกลับไป
ทำที่ประเทศของตน

[Image: jpl540514_23.jpg]
สนนราคา สำหรับร้านหรูๆ ระดับนี้ต้องทำใจ ชุดนี้ไม่ต่ำกว่าพันบาท (รวมค่าเดินทางเรียบร้อยแล้ว) ที่เห็นจ่ายนั้นนะ ติ๊บ จ๊ะ

[Image: jpl540514_24.jpg]
ขั่นตอนการปรุง สูตรใครก็สูตรมัน นักข่าวอย่าหวังว่าจะได้สูตรไป

[Image: jpl540514_26.jpg]
ร้านนี้ตั้งอยู่ในที่ ที่แพงที่สุดในประเทศไทย ซอยทองหล่อ 55 (ที่ดินตารางวาละ 3 แสน)
ท่านใดสนใจร้านอาหารร้านนี้ พบเห็นได้ตามบริเวณ การชุมนุมของคนเสื้อแดงใน กทม. แทบทุกงาน (ประชาสัมพันธ์)
เห็นว่าเย็นนี้จะไปที่หน้าเรือนจำคลองเปรม

[Image: jpl540514_29.jpg]
เมื่ออิ่มหน่ำสำราญกันแล้ว ก็พากันมาเยี่ยม สถาบัน (คำนี้กำลังฮิตติ chart)

[Image: jpl540514_28.jpg]
ฮ๋อ สถาบันของท่านรัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ นี่เอง

[Image: jpl540514_13.jpg]
ท่านสมกับเป็นรัฐบุรุษ ตลอดกาล ที่คนเสื้อแดงยกย่องท่านได้อย่างสนิทใจ ไม่เหมือนใครบางคน ที่ทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน


[Image: jpl540514_16.jpg]
มีรูปท่านและครอบครัวด้วย

[Image: jpl540514_17.jpg]
มีรูปจำลองมุด ของคณะราษฏร์ด้วย

[Image: jpl540514_01.jpg]
ประวัติที่มาที่ไป ของสถานที่แห่งนี้

[Image: jpl540514_18.jpg]
อยากจะให้คนใหญ่คนโต พวกอำมาตย์ ทหาร ศาล และผู้ที่คิดว่าเป็นเจ้าของประเทศนี้ได้อ่านคำประกาศของคณะราษฏร์ ใต้
มุดนี้ซะ จะได้เข้าใจว่าทำไม คนเสื้อแดงเขาต้องมาเรียกร้องสิทธิของเขากลับคืน
 

©2010 กลุ่มแดงหลังตู้เย็น

ดาวน์โหลด pdf creator : Discount Cordless Screwdriver : Online Condom Store : Strathwood Chair Shop