ผู้สนับสนุน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

“ความกลัว” ที่ไม่มีวันสิ้นสุด


ใน ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศกำลังเฉลิมฉลองงานวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับรายงานว่ามีวัตถุระเบิดถูกวางทิ้งไว้บริเวณตลาดใน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการย้ำเตือนถึงฉากละครที่ “น่ากลัวและโง่เขลา” ครั้งล่าสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา แผนการที่การลอบวางระเบิดและการก่อวินาศกรรมปริศนาเหล่านี้ได้สร้างความหวาด กลัวไปทั่วประเทศ

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สร้างความหวาดผวาให้กับประชาชน โดยการกล่าวโทษกลุ่มคนเสื้อแดงว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในวันที่ 30 กรกฎาคม กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นร้องขอให้อัยการสั่งฟ้องแกนนำกลุ่ม น.ป.ช. ทั้ง 24 คน รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในข้อหา “ก่อการร้าย”

และ ตามคาดหมาย ในวันที่ 11 สิงหาคม อัยการได้สั่งฟ้องแกนนำ 19 คน ที่ถูกคุมขัง และเลื่อนการพิจารณาว่า จะสั่งฟ้องแกนนำอีก 6 คนหรือไม่ รัฐบาลไทยได้กล่าวหาแกนนำเสื้อแดงว่า มีส่วนเกี่ยวข้องหรือร่วมกันวางแผนกระทำดังต่อไปนี้

1. การวางระเบิดกว่า 70แห่ง ในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ
2. การปฏิบัติการของ “ชายเสื้อดำ” ในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งส่งผลให้ทหารจำนวนหนึ่งเสียชีวิต
3. การลอบวางเพลิงอาคารราว 30อาคาร ในวันที่ 19 พฤษภาคม
ซึ่งข้อกล่าวหาเหล่านี้มีโทษสูงสุดถึงขึ้นประหารชีวิต

รัฐบาล ไทยเมินเฉยต่อข้อเรียกร้องที่เราขอให้เปิดโอกาสแก่ลูกความของเรา ได้เข้าถึงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี เพื่อทำการตรวจสอบหลักฐานนั้นด้วยตนเอง ซึ่งสิทธิเหล่านี้ได้ถูกรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ

หลักฐานที่ รัฐบาลได้แสดงต่อสาธารณะที่ชี้ว่าแกนนำเสื้อแดงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำ การก่อการร้ายนั้น มีจุดอ่อนอย่างมาก เช่น คำปราศรัยของนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ที่เตือนว่า อาจจะมีการตอบโต้การกระทำการรัฐประหารโดยคนเสื้อแดง หรือคำปราศรัยของ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ที่กล่าวว่า อาจจะมีการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง นอกจากนี้สมาชิกคนสำคัญของรัฐบาล ยังกล่าวหาว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่กลุ่ม น.ป.ช. และแกนนำอีก 2-3 คน รับคำสั่งจากทักษิณให้พยายามล้มเลิก “แผนการปรองดองสมานฉันท์” แต่จนถึงวันนี้ รัฐบาลยังไม่สามารถพิสูจน์ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้

เมื่อ เราพิจารณาข้อมูลโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ที่รัฐบาลได้พยายามเผยแพร่แล้ว จะพบว่ารัฐบาลปฏิเสธที่จะแสดงหลักฐานที่แน่นหนาว่า แกนนำ น.ป.ช. มี่ส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาที่เป็นข้อกล่าวหาทางการเมืองโดยล้วนอย่าง ข้อหา “ก่อการร้าย” อย่างไร แท้ที่จริงแล้ว รัฐบาลต้องการใช้ข้อกล่าวหาดังกล่าว เล่นงานคนเสื้อแดงอย่างลับๆ โดยใช้การสอบสวนและระบบตุลาการคดงอ เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ข้อ กล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” คือการทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้นต่อสาธารณะ ไม่ว่าบุคคลนั้นทำผิดจริงหรือไม่ก็ตาม ซึ่งคล้ายกับการกล่าวหาบุคคลว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในยุค 70

แท้จริงแล้ว รัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ต้องการทำให้ประชาชนมองว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงว่าเป็นองค์กร “การก่อการร้าย” โดยเริ่มจากวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลและ ศอฉ. ได้สร้างเรื่อง ทำให้ประชาชนเห็นการสลายการชุมนุมเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แม้ว่าการกระทำนั้น จะทำให้มีผู้เสียชีวิต

การที่ ศอฉ.และรัฐบาลกล่าวหาคนเสื้อแดงว่า เป็นผู้ก่อการร้าย เพราะต้องการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากแหล่งอื่น คุกคามสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ และกำจัดคนเสื้อแดงโดยไม่ทำให้คนกรุงเทพโกรธเคือง นอกจากนี้ เรายังเป็นกังวลว่า กองทัพในบางส่วน (หรือกลุ่มคลั่งชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของรัฐบาล) อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการทำลายภาพลักษณ์ทางสาธารณะของคนเสื้อแดง หรืออาจกล่าวได้ว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้น คือแผนการ “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” เพื่อสร้างความชอบธรรมใช้กับการอำนาจฉุกเฉิน และจำกัดสิทธิเสรีภาพของฝ่ายตรงข้ามอย่างเคร่งครัด (เราได้สามารถเห็นได้จากสัปดาห์ที่แล้วว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน บังคับใช้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น)

ข้อสันนิษฐานของเรามาจากข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้

ข้อแรก เราสงสัยหลักฐานที่รัฐบาลแสดงต่อที่สาธารณะ ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่า แกนนำ น.ป.ช.เกี่ยวข้องกับการกระทำการก่อการร้าย และแม้จะมีข้อสงสัยมากมาย แต่ใครก็ตามที่โจมตีรัฐบาล จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนเสื้อแดงทั้งหมด ทั้งนี้การลอบวางระเบิดและลอบยิงหลายเหตุการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ยังคงเป็นปริศนา ไม่มีการจับกุมบุคคลใด และในบางกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัยอย่างรวดเร็ว และปล่อยตัวในเวลาต่อมาเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ และบางกรณีที่ผู้ถูกจับกุมและถูกกล่าวหาว่ามีสายสัมพันธ์กับกลุ่ม น.ป.ช. แต่การกระบวนการการสอบสวนคดีของรัฐบาล ยังเป็นที่น่าสงสัย

เหตุการณ์ การยิงระเบิดในวันที่ 20 มีนาคม ใกล้กับกระทรวงกลาโหม เจ้าหน้ารัฐออกมาระบุว่า ผู้ต้องหารับ “สารภาพ” ว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือวัดพระแก้ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับคดีมากกว่านี้

นอกจากนี้ อีกเรื่องที่น่าแปลกก็คือผู้ต้องหา 2 คน ที่ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในกัมพูชาเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องการลอบวาง ระเบิดที่หน้าพรรคภูมิใจไทย โดยคนเสื้อแดงที่หลบหนีอยู่ ได้เป็นคนรายงานตำรวจ โดยเฉพาะอดีต ส.ส. พายัพ ปั้นเกษ ที่น่าสงสัยมากกว่านั้นคือ รัฐบาลกัมพูชา ได้ส่งผู้ต้องสงสัยนี้คืนแก่รัฐบาลไทย ( โดยรัฐบาลไทยไม่เคยรู้ว่า ผู้ต้องสงสัยนี้เดินทางไปยังกัมพูชาในวันที่ 1 กรกฎาคม) แต่ไม่เคยส่งคืนคนเสื้อแดงคนอื่นที่เชื่อว่า ซ่อนตัวอยู่ในชายแดนกัมพูชาให้แก่รัฐบาลไทยเลย

รัฐบาลอภิสิทธิ์จะตี ตราฝ่ายผู้ตรงข้ามอย่างรวดว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” แต่เหมือนแผนการนี้ไม่ค่อยจะได้ผล ระบบตุลาการนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือ เจ้าหน้าสอบสวนได้ยอมรับอย่างเปิดเผยว่า องค์กรสอบสวนของตนถูกใช้ “เป็นเครื่องมือทางการเมือง” และกระบวนการสรรหาผู้เชี่ยวชาญโดยรัฐบาลนั้น มีความลำเอียง ประเด็นก็คือ รัฐบาลต้องการปกปิดความจริง และวัตถุประสงค์ของการฟ้องร้องคดีอาญานี้ คือการสร้างความชอบธรรมให้แก่สื่อของรัฐบาล และต้องการให้มีการคุมขังแกนนำ น.ป.ช. ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสอบสวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องสำคัญ การที่ระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ไม้ประดับ โดยมีกลุ่มคนอื่นเป็นคนตัดสินเรื่องทางกฎหมายนั้น เกิดขึ้นหลายครั้งในการเมืองไทย

อย่างที่สอง น่าสังเกตช่วงเวลาของการเกิดเหตุร้าย เหตุการณ์การลอบวางระเบิดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ ณ ธนาคารกรุงเทพสี่สาขาเมื่อคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จนถึงทุกวันนี้ คดียังเป็นปริศนา รัฐบาลได้ออกมาเตือนว่า จะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นหลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ดังนั้นจึงมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระดับของความร้ายแรงของเหตุการณ์เพิ่มขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม จนนำไปสู่การประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในวันที่ 8 เมษายน ตามมาด้วยการเข้าสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน

เหตุการณ์ ระเบิดในกรุงเทพและการสังหารเสธแดง และเหตุการณ์นองเลือดจากการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 19พฤษภาคม และเดือนกว่าหลังจากนั้น เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทย เพื่อปิดปากบุคคลที่เรียกร้องให้มีการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และนำไปสู่การยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นเวลาสามเดือน จนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม และในวันที่ 25 กรกฎาคม ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่อภิสิทธิ์ประกาศว่า มีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนเรื่องการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ได้เกิดเหตุการณ์ระเบิดที่หน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ อันเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย และทำให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนต้องถูกชะลอ

เหตุการณ์เหล่านี้ อาจเป็นเพียงเหตุบังเอิญ แต่ข้อเท็จจริงประจักษ์แล้วว่า การก่อการร้ายนั้น เอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐบาล และสิ่งที่น่าสนใจคือ “การก่อการร้าย” มักจะเกิดขึ้น เพื่อทำให้ประชาชนเชื่อในสิ่งที่รัฐบาลพูด อย่างแรกคือ รัฐบาลกล่าวว่า พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ไม่สามารถควบคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดงได้ หลังจากนั้น คือการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นสิ่งจำเป็น โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ และพยายามทำให้ประชาชนเชื่อว่า ผู้ที่เสียชีวิตนั้น สมควรแล้วที่ถูกกระทำเช่นนั้น

เป็นที่ทราบว่า คนเสื้อแดงพยายามที่จะหาเสียงสนับสนุนจากคนกรุงเทพ แต่ “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ ช่วยรัฐบาลแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนเสื้อแดง ไม่สมควรได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน อาจกล่าวได้ว่า “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ เป็นพันธมิตรที่ดีต่อรัฐบาลนั้นเอง หากไม่ใช่เพราะ “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ รัฐบาลนี้คงพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ที่จริงแล้ว “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ช่วยเหลืออภิสิทธิ์หลายครั้ง จนเราสงสัยว่า หรือนี่ คือวัตถุประสงค์อันแท้จริงของผู้ก่อการร้ายเหล่านี้

ข้อสาม คือ การกระทำของรัฐบาลภายหลังจากการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพยายามปกปิดอะไรหลายอย่าง การปิดบังข้อมูลข่าวสาร ทำให้ไม่การอภิปรายข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาล สื่อกระแสหลักนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบของรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า การที่รัฐบาลเพิกเฉยการสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพยายามที่จะปิดบังข้อเท็จจริง เพื่อเป็นเครื่องประกันว่า ผู้นำทางทหารและพลเรือนจะไม่ต้องรับโทษ ในขณะเดียวกัน มีการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน ระบบที่เคร่งคัดและรวดเร็วกับคนเสื้อแดง และระบบที่ผ่อนผัน ล่าช้าต่อคนเสื้อเหลือง ทำให้เห็นว่า รัฐบาลไม่เคารพระบบตุลาการและนิติรัฐ สุดท้ายคือการตอบโต้ของโฆษกรัฐบาลที่ร้อนตัวโดยพยายามหลีกเลี่ยงการอภิปราย ข้อมูลที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ด้วยลดความน่าเชื่อถือของผู้เขียนว่า เป็นชาวต่างชาติ และไม่มีคุณสมบัติที่ดีพอ การห้ามวิจารณ์ ปกปิดหลักฐาน และตอบโต้ด้วยการลดความน่าเชื่อถือ ด้วยการอาศัยเหตุผลของบุคลิกภาพของบุคคลนั้น เป็นวิธีการของคนที่มีเรื่องต้องปกปิด

ด้วยเหตุผลนี้ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเชื่อว่า รัฐบาลที่มีประวัติการใช้ความรุนแรง ใช้อำนาจในทางที่ผิด และให้ข้อมูลข่าวสารบิดเบือนแก่ประชาชน สร้างสถานการณ์เหล่านี้ขึ้นมา เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเหล่านี้

นี่ ไม่ใช่ครั้งแรก ที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นที่รู้กันดีว่า มีการอ้างว่า“มือที่สาม” เข้ามาสร้างสถานการณ์ในปี 2516 และ 2519 กลุ่มคนเหล่านี้ยุยงทำให้เกิดการจลาจล เพื่อเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลเข้ามาสลายการชุมนุม ตัวอย่างล่าสุดของมือที่สาม คือกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลอย่างกลุ่มคน “เสื้อฟ้า” ได้เผชิญหน้าและทำร้ายคนเสื้อแดงที่ชุมนุมในพัทยาในเดือนเมษายนปี 2552

อย่าง ไรก็ตาม “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” สำคัญที่เกิดก่อนหน้านี้ คือการพยายามกำจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยใช้ความรุนแรง และการที่รัฐให้ความช่วยเหลือจากกลุ่มศาลเตี้ยในกลางยุค 70 ในปี 2519 รัฐบาลได้ตั้งกลุ่มกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้านขึ้นมา เพื่อทำลายฝ่ายคอมมิวนิสต์ นักการเมืองท้องถิ่นและนักกิจกรรมที่ทำงานให้กับสมัชชาชาวนาแห่งประเทศไทย กลุ่มดังกล่าว ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในการล้อมปราบสลายนักศึกษาและกรรมกร และยั่วยุให้เกิดการจลาจลต่อต้านชุมชนชาวเวียดนามในภาคอีสาน รวมถึงเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่เป็นเหตุให้นักกิจกรรมหลายคนเสียชีวิต ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพ และความหวาดกลัว จนนำไปสู่การฆ่าหมู่นักศึกษาในปี 2519 โดยกลุ่มศาลเตี้ยเหล่านี้ ได้บุกล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และฆ่าหมู่นักศึกษาเหล่านั้นอย่างทารุณ โดยอ้างว่า เพื่อปกป้องเมืองหลวงจาก “กลุ่มคอมมิวนิสต์” (กลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าจะเผาวัดบวรนิเวศ) เหตุการณ์ความรุนแรงนี้ ได้ทำลายความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อระบอบประชาธิปไตย และการปราบปรามนี้ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนกให้คนกรุงเทพแต่อย่างใด การทำรัฐประหารหลังจากเหตุการณ์นี้ กลับทำให้คนเมืองรู้สึกอุ่นใจ

สิ่งที่ทุกคนไม่ควรลืมคือ กลุ่มคนสำคัญที่สนับสนุนอภิสิทธิ์ คือกลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแผน “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” ในปี 2519

ตาม ที่กฎหมายไทยได้บัญญัติไว้ การกระทำรุนแรงที่เข้าข่ายว่าเป็นการ “ก่อการร้าย” นั้น คือการที่ผู้กระทำมีเจตนาที่จะกระตุ้นให้รัฐใช้กำลังหรือทำให้เกิดความ วุ่นวายและสร้างความหวาดผวาให้สาธารณชน ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้พลาดโอกาสที่จะทำให้ชาวกรุงเทพหวาดผวา แต่หลังจากนั้น รัฐบาลได้ใช้ประโยชน์จากความกลัวและความไม่สงบนี้ เอื้ออำนาจอย่างล้นเหลือให้พรรคพวก ซึ่งหากเป็นสถานการณ์ปกติ คงไม่สามารถทำได้ ซึ่งเหมือนการทำรัฐประหารเงียบ

ในประวัติศาสตร์ไทย “มือที่สาม” และ “ผู้ก่อการร้าย” ที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้าม (จะใช้หรือไม่ก็ตาม แต่คนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำพลเรือน) คือคนที่ทำงานให้แก่รัฐ กลุ่มสภาเฉพาะกิจอย่างกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่วิจารณ์ระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างรุนแรง ได้พยามก่อความรุนแรงหลายครั้ง โดยการปะทะกับคนเสื้อแดง และยังสร้างความอับอายให้รัฐบาล ด้วยการเย้ยรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่า ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มอภิสิทธิชนอย่างกลุ่มตนได้ กลุ่มหัวเก่าในกองทัพพยายามทำให้รัฐบาลพลเรือนดูอ่อนแอ เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเงินและอื่นๆ ให้พวกตน และยังสร้างความชอบธรรมให้กับการแทรกแซงการเมือง และพยายามยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉินเพื่อให้อำนาจแก่กลุ่มตนเอง

การที่นำ “ผู้ก่อการร้าย” ที่แท้จริงขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม ทำได้โดยการที่รัฐบาลต้องใส่ใจกับข้อเรียกร้องขององค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก และเปิดโอกาสให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระและสมบูรณ์ภายใต้กฎหมายระหว่าง ประเทศ นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์จะต้องยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือต่อทหารและรัฐบาล และเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ

อย่าง ไรก็ตามวิกฤตการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญนี้ ประเทศในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก ได้ทนดูความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งคำถามในสิ่งที่รัฐบาลไทยได้กระทำ มาพอสมควรแล้ว การที่รัฐบาลพยายามยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และไม่แสดงท่าทีจะยกเลิก แสดงให้เห็นว่า การยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉินนั้น เอื้ออำนาจให้รัฐบาลมากกว่าเพื่อควบคุมความร้ายแรงของสถานการณ์ ไม่ว่าใครก็ตามที่เป็น “ผู้ก่อการร้าย” ตัวจริง อำนาจฉุกเฉินนี้ คือชัยชนะที่พวกเขาไม่สมควรได้รับ เราหวังว่าสิ่งเหล่านี้คงจะไม่ใช่แผนการของคนเหล่านี้
 

©2010 กลุ่มแดงหลังตู้เย็น

ดาวน์โหลด pdf creator : Discount Cordless Screwdriver : Online Condom Store : Strathwood Chair Shop